วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 3
วันที่ 28 มกราคม 2560





บรรยาการในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์สอนประเภทของเด็กพิเศษต่อจากของเก่า


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 

(Children with Speech and Language Disorders)


เด็กที่ความบกพร่องด้านการพูด
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
3. ความบกพร่องของเสียงพูด  (Voice Disorders) 

ความบกพร่องด้านภาษา
หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย
ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia หรือ aphasia 



   5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and
 Health Impairments)

โรคลมชัก (Epilepsy)

เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

ขณะที่ครูอธิบายอาการต่างๆ โดยอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆสาธิตอาการต่างๆ





การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก

-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
-ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
-ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

ซี.พี. (Cerebral Palsy) 



การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน 
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
-spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
-spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
-spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
-spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว


2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกั
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
- เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
- เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
- จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม 
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
- กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ


โปลิโอ (Poliomyelitis)


-มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม 



โรคกระดูกอ่อน

 (Osteogenesis Imperfeta)




โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)


และโรคอื่นๆ อีกมากมายเช่น

โรคระบบทางเดินหายใจ

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)

 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
 โรคมะเร็ง (Cancer)
 เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia



ยกตัวอย่างคนที่มีความบกพร่องแต่ามารถใช้วีวิตได้อย่างปกติและประสบความสำเร็จ

Lena Maria

     เรื่องราวของผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิตของเลน่า มาเรีย คลิงวัลล์ซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงของสวีเดน ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1968 เลน่า ยูฮันซอนได้ถือกำเนิดขึ้น โดยที่เธอนั้นได้เกิดมาพร้อมกับความพิการ คือตรงส่วนที่เป็นแขนเธอไม่มีอะไรเลย ที่หัวไหล่มีแค่ปุ่มเล็กๆ 2 ปุ่ม ขาข้างขวาดูปกติแต่ข้างซ้ายนั้นสั้นกว่าข้างขวาครึ่งหนึ่ง ส่วนเท้าซ้ายชี้ขึ้นข้างบนเกือบถึงขา เธอเป็นลูกคนแรกแน่นอนที่พ่อ แม่เธอนั้นเสียใจมาก หมอต้องให้ยาระงับประสาทแก่พ่อ แม่เธอก่อนที่จะอธิบายความจริงเกี่ยวกับการพิการที่เกิดขึ้น และหมอก็แจ้งให้พ่อ แม่เธอทราบถึงเรื่องที่ท่านสามารถจะทิ้งเธอไว้ที่สถาบันดูแลเด็กพิการได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตัดสินยาก และแล้วพ่อเธอกลับคิดได้ว่าการที่เธอไม่มีแขนก็ไม่เห็นเป็นไร แต่เธอนั้นต้องมีครอบครัว พ่อและแม่เธอจึงตัดสินใจนำเธอกลับมาเลี้ยงดูเอง

ประวัติเพิ่มเติมhttp://oknation.nationtv.tv/blog/chaiyospun/2008/05/01/entry-3


Nick Vujicic

นิค วูจิซิค Nick Vujicic (รวมคลิปและภาพ)เป็นชาว ออสเตรเลีย เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2525 จากพ่อแม่ชาวเซอร์เบียซึ่งอุทิศตนให้คริสต์ศาสนา นิค วูจิซิคเกิดมาไม่มีแขนทั้งสองข้าง มีขาสั้นๆ ข้างเดียวที่มีนิ้วโป้งสองนิ้วเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม
http://men.mthai.com/infocus/32993.html


การนำความรู้ไปใช้
ได้รู้เรื่องหลายๆเรื่องรวมทั้งได้ข้อคิดต่างๆมากมาย ในเรื่องของกำลังใจ เรื่องของการอดทนและความสู้ของคนหลายคนจนประสบความสำเร็จได้ และได้ไปค้นคว้าหาอ่านมากมาย มีคำคมและคติสอนในหลายๆเรื่องและหลายๆอย่างที่เาสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้



การประเมินผล
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจฟังอาจารย์ทุกครั้ง และดูวีดีโออย่างตั้งใจและกลับค้นคว้าเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
เพื่ออนๆมาตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และมีส่วนร่วมนกิจกรรมต่างๆ
ประเมินอกอาจารย์
อาจารย์มาตรงเวลา มีความพร้อมในการเรียนการสอน และมีสื่อที่เป็นวีดีอมาให้นักศึกษาดูอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกครั้งที่ 2
วันที่ 20 มกราคม 2560


บรรยกาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ






ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”




เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
-เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา

-มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
-พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
-เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
-อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
-มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
-จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
-มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
-มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
-เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
-มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
-ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน


2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
-เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
-เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
-เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
-เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
-เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
-เด็กออทิสติก
-เด็กพิการซ้อน 
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
(Children with Intellectual Disabilities)
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกันมี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน


เด็กเรียนช้า
  - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  - ขาดทักษะในการเรียนรู้
  - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 

สาเหตุภายนอก
 -เศรษฐกิจของครอบครัว
 -การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
 -สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
 -การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
 -วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
สาเหตุภายใน
•พัฒนาการช้า
•การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน


















- ระดับสติปัญญาต่ำ
  - พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  - มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง

  - อาการแสดงก่อนอายุ 18

เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม



 1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  - ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
  - ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น

 2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
•ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
•กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
  - พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
  - สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
  - เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
•เรียนในระดับประถมศึกษาได้
•สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 
ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
-ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
-ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
-ทำงานช้า
-รุนแรง ไม่มีเหตุผล
-อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome





      














เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
-ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น
-หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
-ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
-ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
-เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
-ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
-มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
-เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ



-ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
-มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
-บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
-อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
-มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
-อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง

2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
 (Children with Hearing Impaired ) 
















หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน
เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน

มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 

เด็กหูตึง
  หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
เด็กหูหนวก
   - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
   - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
   - ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
   - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
 (Children with Visual Impairments) 

- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท 


การนำไปใช้
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษที่หลากหลายได้รู้ถึงความหมายและลักษณะอาการขงแต่ละโรคซึ่งสามารถนำไปสังเกตและนำความรู้ไปใช้ได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
มาตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และร่วมกิจกรรมในห้อง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆส่วนใหญ่มาตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนโดยส่วนใหญ่
ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักมากๆ มตรงเวลา มีการเตรียมตัวมาพร้อมในการเรียนการสอนอยู่เสมอ



วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

ครังที่ 1
วันที่ 13 มกราคม 2560


บรรยายกาศในห้องเรียน



   วันนี้เป็นวันที่มีการเรียนการสอนวันแรกของเทอมนี้ อาจารย์ได้มีการพูดคุยแนวทางการเรียน การสอน ของรายวิชา เรียนรวม ว่าเกี่ยวกับอะไร อย่างไร และมีการทบทวน ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษ เนื่องจาก วิชานี้ ต้องมีการนำความรู้เรื่องเด็กพิเศษเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จากนั้น อาจารย์ก็แจกใบปั้มเวลาเรียน และ ใบแนวการสอน (Course Syllabus)

    



หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนเนื้อหา เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (Early Childhood with special needs)
ความหมาย ทางการแพทย์
  มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ” เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ 
ความหมาย ทางการศึกษา
  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 

สรุป
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคล
All Children Can Learn ↼ เด็กทกคนสามารถเรียนได้ด้วยกัน

 พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงตามระดับขั้นและดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการ จะมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าน้ อาจจะเป้นด้านเดียว หลายด้าน หรือทกด้านเลยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
- ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ


1.พันธุกรรม

เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น 
ดาวซินโดม สามารถตรวจได้แต่หมอไม่นิยมให้ตรวจ 


โรคผิวเผือก  ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเม็ดเมลานินได้ เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง หากโดนแดดมาก


ท้าวแสนปม เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนในร่างกาย


โรคท้าวแสนปม  neurofibromatosis (NF) 

สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ
           ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง 
           พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป
           พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ 
           พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา 
           พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป 
           พบความผิดปกติของกระดูก 
           มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้

Cleft Lip / Cleft Palate ปากแหว่งเพดานโหว่

มาจาก พันธุกรรม ส่วนมากจะเกิดกับคนที่มีฐานนะที่ลำบาก

สาเหตุ

ปัจจัยภายนอก
เชื่อว่าปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่เป็นไปได้สูงถึงประมาณ 80-88% โดยปัจจัยภายนอกที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่งเพดานโหว่  ได้แก่
1. การเจ็บป่วยของแม่เมื่อตั้งครรภ์
2. ภาวะขาดสารอาหารของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์
3. แม่สูบบุหรี่จัด
4. แม่ได้รับยา หรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชักเช่น ฟีไนโตอิน (Phenytoin), ไดแลนติน (Dilantin) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) สารพิษ สารเคมี การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การขาดกรดโฟลิคในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปัจจัยภายใน
เกิดจากกรรมพันธุ์  พบว่า อาการนี้มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้ประมาณ 12-20% ของผู้ป่วยทั้งหมด
มี 3 แบบ แหว่งแค่ปาก แหว่งข้างเดียว และ แหว่ง 2 ข้าง

ธาลัสซีเมีย
ป็นโรคที่มีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย 



ลูกของคุณมีโอกาสเสี่ยงแค่ไหนต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย

ภาพเกรดเลือด คนปกติ กับ ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย



2. โรคประสาท
-เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย 
-ที่พบบ่อยคืออาการชัก 
3.การติดเชื้อ
- การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
- นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
- โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
- หนาวง่าย
- เหนื่อยง่าย
-  ผิวแห้ง
- ผมแห้ง
- ขี้ลืม
- ท้องผูก
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
- การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
- ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
- มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
- ภาวะตับเป็นพิษ
- ระดับสติปัญญาต่ำ

แอลกอฮอล์
- น้ำหนักแรกเกิดน้อย
- มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
- พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
- เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome, FAS








- ช่องตาสั้น  
- ร่องริมฝีปากบนเรียบ
- ริมฝีปากบนยาวและบาง  
- หนังคลุมหัวตามาก
- จมูกแบน 
- ปลายจมูกเชิดขึ้น

นิโคติน

- น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
- เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
- สติปัญญาบกพร่อง
- สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ



อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
- ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
*** จะหายก่อน 1 ขวบ หากไม่หายแสดงว่ามีพัฒนาการช้า *** 



แนวทางการวินิจฉัย
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1.ซักประวัติ
- โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
- การเจ็บป่วยในครอบครัว
- ประวัติฝากครรภ์ 
- ประวัติเกี่ยวกับการคลอด      
- พัฒนาการที่ผ่านมา     
- การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง   
- ปัญหาพฤติกรรม   
- ประวัติอื่นๆ
2. ตรวจร่างกาย
- ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
- ภาวะตับม้ามโต 
- ผิวหนัง
- ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
- ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
- ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
- แบบทดสอบ Denver II
- Gesell Drawing Test 
- แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล

และครูให้ทำกิจกรรมวาดรูป ตาม พัฒนาการ แบบทดสอบ
รูปแรกสำหรับเด็ก 2 ขวบ และไล่ขึ้นไป 3 4 5 จนถึงรูปสุดท้าย 12 ขวบ


ผลออกมา ไม่ผ่าน 11 -12 ขวบ
ปล. การวาดภาพไม่สามารถบอกพัฒนาการของสมองพัฒนาการ เสมอไป นะจ้ะ555


การนำไปใช้ 
ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐวัย มากขึ้นว่า วิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร อย่างไร และได้ ทบทวนความรู้เก่า เกี่ยวกับเด็กพิเศษ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กพิเศษมากขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ และ จดบันทึกตามอยู่สม่ำเสมอ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมตลอด

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักมากๆ อาจารย์มีความพร้อมในการสอน มีสื่อ และสามารถอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจ