วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 11
วันที่ 24 มีนาคม 2560



บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์ให้จัดโต๊ะเป็นครึ่งวงกลม



การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม

เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

•เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
•ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
•เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
-เกิดผลดีในระยะยาว 
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)


กิจกรรมมือของฉัน


อาจารย์ให้เอามือที่เราไม่ถนัดงไปใต้โต้ะแล้วให้นักสึกษาวาดรูปมือข้างนั้นให้เหมือน
หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาไปหาว่ารูปที่ได้เป็นลายมือของใคร เป็นกิจกรรมที่สอนให้นักศึกษาสังเกตแล้วจดบันทึกลงไป หากไม่จดแล้วคิดว่าจำได้ จะลืมในภายหลังขนาดมือของเราเองที่อยู่กับเรามายังจำไม่ค่อยได้เลย


การสื่อความหมายทดแทน 

(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

-การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
-เครื่องโอภา (Communication Devices)
-โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System (PECS)







การนำไปใช้
การเรียนรู้การปรับ และ การส่งเสริมพฤติกรรมต่างๆที่นำไปใช้ได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง และร่วมทำกิจกรรมต่างๆให้ความร่วมมือเต็มที่
ประเมินเพื่อน
เพื่อนสนุกกับกิจกรรม และให้ความร่วมมือเต็มที่
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีกิจกรรมน่าสนใจ และได้ความรู้ได้ข้อคิดมาให้นักศึกษาทำระหว่างการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ


วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 10
วันที่ 17 มีนาคม 2560


บรรยากาศในห้องเรียน


การจัดประสบการณ์
การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย


รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม 
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง


"Inclusive Education is Education for all, 

It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"
เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาและเด็กพิเศษควรได้รับการส่งเสริมรายบุคคล


สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้”
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

กิจกรรมวาดรูปดอกบัว


 อาจารย์ให้วาดรูปและระบายสีตามรูปให้เหมือนมากที่สุดไม่ต้องสวยแต่ต้องเก็บรายละเอียด
แต๊นนนนนนนนนน
.
.
.
.
.
.
.
.
.

.
สวยไหมค่าาาาาาา
ชัดๆอีกรูป



บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
ครูทำอะไรบ้าง
-สังเกตอย่างมีระบบ
-การตรวจสอบ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
-การบันทึกต่อเนื่อง
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ






การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่



การนำความรู้ไปใช้
ได้รู้ว่าการที่เราได้สอนในชั้นเรียนเด็กเรียนร่วมเราควรมีทักษะการสังเกต ควร สังเกตให้ได้มากที่สุดได้เข้าใจถึงหลักการและนำไปปรับใช้ได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจร่วมกิจกรรมให้ มีส่วรร่วมเต็มที่
ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารัก มีการเตรียมการสอนทุกครั้ง และมีกิจกรรมให้ทำระหว่างการเรียนการสอน



วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 9
วันที่ 10 มีนาคม 2560



บรรยากาศในห้องเรียน

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
-                 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                  ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
                  ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
                  ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต




การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
                  ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
                  ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
                  กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
                  เอะอะและหยาบคาย
                  หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
                  ใช้สารเสพติด
                  หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ





  ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
-- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
-งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
•มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
•พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
•มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
การปฏิเสธที่จะรับประทาน
รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
โรคอ้วน (Obesity)
ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
ขาดเหตุผลในการคิด
อาการหลงผิด (Delusion)
•อาการประสาทหลอน (Hallucination)•พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
--มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว

เด็กสมาธิสั้น 
(Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช


มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 
Inattentiveness
•Hyperactivity
•Impulsiveness
Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
-ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
-ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
-มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
-เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
-เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
-ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
-เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เหลียวซ้ายแลขวา
-ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
-อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
-นั่งไม่ติดที
-ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
-ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
-ขาดความยับยั้งชั่งใจ
-ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
-ไม่อยู่ในกติกา
--ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
-ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปลtละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
เด็กพิการซ้อน 

(Children with Multiple Handicaps) 

-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เรียบร้อย ให้ความร่วมในการตอบคำถามมาตรงเวลส
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนน่ารักแต่งกายเรียบร้อย มาตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์มาตรงเวลาทุกครั้ง น่ารักและมีการเตรียมการสอนทุกครั้ง